จารุณี สุขสวัสดิ์ ชื่อเล่น เปิ้ล (ชื่อฝรั่งเศส: แคโรลีน เดส์แน็ช Caroline Desneiges) นักแสดง ศิลปินและดาวค้างฟ้าตลอดกาล เจ้าของฉายา "ดาราทอง" "ราชินีจอเงิน" "ราชินีนักบู๊" หนึ่งในตำนานนางเอกหนังไทยขวัญใจมหาชน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 มีบิดาเป็นชาวฝรั่งเศส ชื่อแฟร์น็อง ฌอง เดส์แน็ช (Fernand Desneiges) และมารดาเป็นชาวไทย ชื่อระเบียบ สุขสวัสดิ์

  • จารุณี สุขสวัสดิ์เริ่มการศึกษาระดับชั้นอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนอนุบาลทองสุโชติ
  • ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนธัมมสิริศึกษา อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
  • ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-7 ที่โรงเรียนพิบูลย์อุปถัมภ์ กรุงเทพฯ
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนบางกะปิ
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่โรงเรียนพาณิชยการเจ้าพระยา
  • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ระดับปริญญาโท จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ก่อนจะเป็นที่รู้จักในวงการบันเทิง จารุณี สุขสวัสดิ์เคยทำงานในสวนสนุกแฮปปี้แลนด์ (คลองจั่น บางกะปิ) ทำหน้าที่จำหน่ายบัตรผ่านประตูและเครื่องดื่ม บางโอกาสก็แสดงเป็นสโนว์ไวท์ในขบวนพาเหรดของสวนสนุกและยังเคยหารายได้พิเศษด้วยการทำงานรับจ้างเป็นจับกังและคนงานก่อสร้างเพื่อส่งเสียตนเองให้มีโอกาสได้เรียนหนังสือและเจียดเงินส่งให้ครอบครัว นับเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นแบบอย่างอันงดงามที่ดาราวัยรุ่นคนหนึ่งในยุคนั้นพึงมีให้กับเยาวชนและสังคมไทย ถือเป็นก้าวแรกๆ ในวงการบันเทิงที่คนไทยทั้งประเทศรักและศรัทธาจารุณี สุขสวัสดิ์ เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่สามารถเป็นแบบฉบับหรือ Idol ในดวงใจให้กับคนในสังคมได้เป็นอย่างดี จารุณี สุขสวัสดิ์แสดงภาพยนตร์ในสังกัดสีบุญเรืองฟิล์มเรื่อง "สวัสดีคุณครู" เป็นเรื่องแรกภายใต้การกำกับการแสดงของบรมครู "พันคำ" เมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยแสดงร่วมกับนางเอกวัยรุ่นอีกคน คือ กาญจนา บุญประเสริฐ และเป็นนางเอกเต็มตัวในภาพยนตร์เรื่องที่สอง "รักแล้วรอหน่อย" (เนื้อเรื่องเดียวกับ "วนาลี") คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี พ.ศ. 2523 บ้านทรายทอง กำกับการแสดงโดย รุจน์ รณภพ แห่งบริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ประสบความสำเร็จท่วมท้น ทำรายได้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 9 ล้านบาทซึ่งถือว่ามหาศาลในยุคนั้น ตามด้วย พจมาน สว่างวงศ์ ซึ่งทำรายได้ถล่มทลายไม่แพ้กัน ทำให้ชื่อของจารุณี สุขสวัสดิ์ เป็นที่ต้องการของบรรดาผู้สร้าง ผู้กำกับ สายหนังและแฟนภาพยนตร์ไทยจนได้รับสมญานามจากสื่อมวลชนว่าเป็น "ดาราทอง" นอกจากนี้ จารุณียังเป็นนักแสดงจอเงินเพียงผู้เดียวที่สวมบทบาทเป็นทั้ง "ปริศนา""เจ้าสาวของอานนท์"และ"รัตนาวดี" จากนวนิยายไตรภาค บทประพันธ์ของหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิตหรือ ว.ณ ประมวญมารค รัตนาวดีถือเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายภายใต้การกำกับการแสดงของรุจน์ รณภพที่จารุณีแสดงให้กับบริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่นในฐานะนักแสดงนำหญิง ก่อนที่หลายปีต่อมา จารุณีจะมารับบทเป็นนักแสดงสมทบให้กับบริษัทไฟว์สตาร์อีกครั้งในเรื่อง"บุญชุ 8 เพื่อเธอ" ภาพยนตร์ที่จารุณีแสดงโดยเฉพาะในยุคเฟื่องฟูนั้นจะเรียกติดปากโดยอัตโนมัติว่า "หนังจารุณี" ทั้งๆ ที่จารุณีไม่ได้เป็นผู้กำกับการแสดงหรือผู้สร้าง เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นนักแสดงเท่านั้น ภาพยนตร์ที่จารุณีแสดงส่วนใหญ่มักได้รับการพากย์เสียงโดย ดวงดาว จารุจินดา
จารุณี สุขสวัสดิ์ มีงานหลั่งไหลเข้ามามากมายจนได้ชื่อว่าเป็น "นางเอกคิวทอง" สามารถแสดงได้ทุกบทบาททั้งชีวิต บู๊ ตลก แก่น เซี้ยว เปรี้ยว ซนและได้รับความนิยมสูงสุดในยุคนั้น เนื่องจากจารุณีมีรัศมีความเป็นสุดยอดดารา (Superstar) แสดงภาพยนตร์เป็นธรรมชาติ มีฝีมือและเสน่ห์ (charismatic) ในการแสดงที่แพรวพราว หาตัวจับได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นสีหน้าท่าทาง แววตา อารมณ์และความรู้สึก ภาพยนตร์ของเธอทำเงินทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ฟอร์มเล็กหรือฟอร์มใหญ่ ถึงขนาดมีการการันตีว่า "ถ้าหนังเรื่องไหนได้จารุณีเป็นนางเอกแล้ว รับรองไม่มีเจ๊งหรือขาดทุนอย่างแน่นอน" แฟนภาพยนตร์เป็นจำนวนมากที่รักและศรัทธาในตัวจารุณีได้ก่อตั้ง "ชมรมสุขสวัสดิ์" ขึ้นเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน ถือเป็นแฟนคลับยุคแรกๆของศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ยุคที่ยังไม่มีระบบสารสนเทศและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยเหมือนในยุคปัจจุบัน แม้ว่าจารุณี สุขสวัสดิ์ จะเป็นนักแสดงมืออาชีพที่มีชื่อเสียงโด่งดังสุดขีดระดับตำนานประวัติศาสตร์ "ราชินีหนังไทย" และ "ราชินีจอเงิน" นับจาก เพชรา เชาวราษฎร์แล้ว ในด้านชีวิตส่วนตัวกลับต้องทำงานหนักตลอดเวลา ไม่ได้พักผ่อนเพียงพอและประสบมรสุมชีวิตหนักๆหลายครั้ง เช่น เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งแรกขณะขี่เรือหางยาวเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ลูกสาวกำนัน" จนเกือบเสียชีวิต อุบัติเหตุร้ายแรงครั้งที่สอง ระหว่างเดินทางในกองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง "บ้านสีดอกรัก" ที่เชียงใหม่ จนเกือบต้องพิการตลอดชีวิต และประสบปัญหาด้านสุขภาพ มีอาการตัวบวมเนื่องจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "วันนี้ยังมีรัก" ประกอบกับในช่วงนั้น รายได้และจำนวนการผลิตหนังไทยเริ่มลดลง เป็นผลให้จารุณี สุขสวัสดิ์ ต้องหยุดงานภาพยนตร์ไปช่วงระยะเวลาหนึ่งทั้ง ๆ ที่ยังมีชื่อเสียงอยู่ ในที่สุดจารุณี สุขสวัสดิ์ ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่วงการละครโทรทัศน์ มีผลงาน เช่น ตะรุเตา คือหัตถาครองพิภพ ไฟลวง รังหนาว ขิงก็ราข่าก็แรง นิมิตมาร ปีกมาร ฯลฯ มีผลงานเพลงสองชุดกับค่ายคีตาและงานบันเทิงด้านต่าง ๆ เช่น พิธีกร ละครเวที เป็นต้น

นอกจากบทบาทด้านการแสดงแล้ว เปิ้ล จารุณียังได้ก้าวเข้าสู่บทบาทการเป็นนักธุรกิจมานานกว่า 15 ปีแล้ว โดยรับตำแหน่งกรรมการบริหาร บริษัท ไทยธรรม อัลไลแอนซ์ ที่เปิดดำเนินการเพื่อการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ในกลุ่มของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ นวัตกรรมด้านการแพทย์ เภสัชกรรม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จัดจำหน่ายผ่านระบบขายตรงแบบเครือข่ายหลายชั้น ด้วยแนวคิด และความตั้งใจในการสร้างธุรกิจเพื่อคนไทยในทุกระดับ โดยกำไรจากการดำเนินธุรกิจ ของบริษัท ไทยธรรม อัลไลแอนซ์ ส่วนหนึ่ง เพื่อการจัดตั้งมูลนิธิไทยคุณธรรม ในการสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับคนไทย และสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นคนไทยที่อยู่บนแผ่นดินไหนทั่วโลก เพื่อแจกจ่าย เจือจุน และสร้างวิถีชีวิตที่ดีกว่าให้กับคนไทยด้วยกัน จากน้ำใจคนไทย

ในวงการภาพยนตร์ไทย นางเอกภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงและมีดีกรีความโด่งดังระดับแม่เหล็กของวงการ เรียกว่าเป็นราชินีจอเงินที่ดังเป็นพลุ มีอยู่ 2 ท่านเท่านั้น คือ เพชรา เชาวราษฎร์ (2504-2513) และจารุณี สุขสวัสดิ์ (2520-2532)

ผลงานภาพยนตร์

พ.ศ. 2520
  1. สวัสดีคุณครู (19 พ.ย.)
พ.ศ. 2521
  1. รักแล้วรอหน่อย (29 ก.ค.)
  2. ครูขาหนูเหงา (1 ธ.ค.)
พ.ศ. 2522
  1. สลักจิต (5 พ.ค.)
  2. ส.ต.ท บุญถึง (26 พ.ค.)
  3. เสือภูเขา (5 ต.ค.)
  4. สุดห้ามใจรัก (27 ต.ค)
พ.ศ. 2523
  1. บ้านทรายทอง (12 ม.ค.)
  2. พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ (25 เม.ย.)
  3. 2 พยัคฆ์ (13 มิ.ย.)
  4. พจมาน สว่างวงศ์ (26 ก.ค.)
  5. ทองผาภูมิ (9 ส.ค.)
  6. วัยสวิง (23 ส.ค.)
  7. ช่างเขาเถอะ (6 ก.ย.)
    ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม
  8. แผ่นดินแห่งความรัก (23 ต.ค.)
  9. มันมือเสือ (31 ต.ค.)
  10. นักเลงตาทิพย์ (5 ธ.ค.)
  11. นายอำเภอคนใหม่ (27 ต.ค.)
พ.ศ. 2524
  1. นางสาวโพระดก (4 ก.พ.)
  2. ไอ้ค่อม (11 เม.ย.)
  3. สาวน้อย (23 พ.ค.)
  4. ลูกสาวกำนัน (1 ก.ค.)
  5. แก้วตาพี่ (8 ส.ค.)
  6. ดำอำมหิต (29 ส.ค.)
  7. รักข้ามคลอง (19 ก.ย.)
  8. คุณปู่ซู่ซ่า (3 ต.ค.)
  9. กำแพงหัวใจ (17 ต.ค.)
  10. อาจารย์โกย (31 ต.ค.)
  11. เจ้าพ่อภูเขียว (7 พ.ย.)
  12. แม่กาวาง (28 พ.ย.)
  13. ไอ้แก่น (5 ธ.ค.)
  14. สุดปรารถนา (30 ธ.ค.)
พ.ศ. 2525
  1. ปริศนา (23 ม.ค.)
    ได้รับรางวัลพระสุรัสวดี ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
  2. แสนซน (20 ก.พ.)
  3. ยอดเยาวมาลย์ (13 มี.ค.)
  4. แม่แตงร่มใบ (19 มี.ค.)
  5. แววมยุรา (3 เม.ย.)
  6. ดาวพระเสาร์ (10 เม.ย.)
  7. เทพธิดาโรงงาน (1 พ.ค.)
  8. คุณรักผมไหม (5 มิ.ย.)
  9. ไอ้หนึ่ง (26 มิ.ย.)
  10. รัตติกาลยอดรัก (17 ก.ค.)
  11. สวัสดีไม้เรียว (1 ก.ย.)
    ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม
  12. คุณย่าเซ็กซี่ (1 ต.ค.)
  13. นักสืบฮาร์ท (14 ต.ค.)
  14. สาวจอมกวน (20 พ.ย.)
  15. นางแมวป่า (3 ธ.ค.)
  16. เจ้าสาวของอานนท์ (31 ธ.ค.)
พ.ศ. 2526
  1. นิจ (15 ม.ค.)
  2. แม่ดอกกระถิน (11 ก.พ.)
  3. มายาพิศวาส (4 มี.ค.)
    ได้รับรางวัลพระสุรัสวดี ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
  4. ลูกสาวกำนัน ภาค 2 (19 มี.ค.)
  5. พยัคฆ์ร้าย 191 (1 เม.ย.)
  6. อย่าดีกว่า (16 เม.ย.)
  7. เลขาคนใหม่ (30 เม.ย.)
  8. เจ้าสาวเงินล้าน (21 พ.ค.)
  9. แม่ยอดกะล่อน (18 มิ.ย.)
  10. ยอดอนงค์ (16 ก.ค.)
  11. ไอ้แก้วไอ้ทอง (23 ก.ค.)
  12. กำนันสาว (12 ส.ค.)
  13. บ้านน้อยกลางดง (27 ส.ค.)
  14. มัทรีที่รัก (17 ก.ย.)
  15. นางสิงห์แก้มแดง (8 ต.ค.)
  16. สามอนงค์ (21 ต.ค.)
  17. มหาเฮง (5 พ.ย.)
  18. มรกตดำ (12 พ.ย.)
  19. ครั้งหนึ่งเราเคยรักกัน (18 พ.ย.)
  20. รักกันวันละนิด (3 ธ.ค.)
  21. เพลงรักก้องโลก (30 ธ.ค.)
พ.ศ. 2527
  1. ลูกทุ่งพเนจร (14 ม.ค.)
  2. แรงอธิษฐาน (1 ก.พ.)
  3. แล้วเราก็รักกัน (17 มี.ค.)
  4. วันนั้นคงมาถึง (17 มี.ค)
  5. รักต้องโกย (13 เม.ย.)
  6. โคตรคนจริง (21 เม.ย.)
  7. รักสุดหัวใจ (28 เม.ย.)
  8. ลูกสาวคนใหม่ (11 ส.ค.)
  9. เลดี้ฝรั่งดอง (3 พ.ย.)
  10. น.ส. ลูกหว้า (17 พ.ย.)
  11. บ้านสีดอกรัก (29 ธ.ค.)
  12. น้ำผึ้งป่า (29 ธ.ค.)
พ.ศ. 2528
  1. กัลปังหา (26 ม.ค.)
  2. นักร้องพ่อลูกอ่อน
  3. หลานสาวเจ้าสัว (19 ก.พ.)
  4. รักสองต้องห้าม (2 มี.ค.)
  5. ยอดรักยอดพยศ (30 มี.ค.)
  6. หมอบ้านนอก (12 เม.ย.)
  7. เขยบ้านนอก (11 พ.ค.)
  8. ผู้การเรือเร่ (31 ก.ค.)
  9. วัยเรียนเพี้ยนรัก (24 ส.ค.)
  10. รัตนาวดี (23 พ.ย.)
  11. มาธาดอร์จอมเพี้ยน (28 ธ.ค.)
  12. ตำรวจบ้าน (28 ธ.ค.)
พ.ศ. 2529
  1. ลูกสาวเถ้าแก่เฮง (8 ก.พ.)
  2. แด่คุณครูด้วยดวงใจ (1 มี.ค.)
  3. เครื่องแบบสีขาว (22 มี.ค.)
  4. เจ้าสาวมะลิซ้อน (12 เม.ย.)
  5. ราชินีดอกหญ้า (31 พ.ค.)
  6. แม่ดอกรักเร่ (21 มิ.ย.)
  7. ยุ่งนักรักซะเลย (28 มิ.ย.)
  8. ชมพู่แก้มแหม่ม (9 ส.ค.)
  9. โกยมหาสนุก (13 ก.ย.)
  10. โกยมหาสนุก (13 ก.ย.)
  11. วันนี้ยังมีรัก (8 พ.ย.)
  12. สิ้นสวาท (22 พ.ย.)
พ.ศ. 2530
  1. ภูตเสน่หา (11 เม.ย.)
  2. หัวละแสน (5 พ.ย.)
  3. สะใภ้เถื่อน (14 พ.ย.)
  4. เมียคนใหม่ (19 ธ.ค.)
  5. เปรอะเจอเปรี้ยว (19 ธ.ค.)
พ.ศ. 2531
  1. แก่นแก้ว (6 ก.พ.)
  2. ทายาทคนใหม่ (6 ก.พ.)
  3. ดวงพลุแตก (16 ก.พ.)
  4. มือปืน 2 ไอ้มือดำ (26 มี.ค.)
  5. สวยเหี้ยม (26 มี.ค.)
  6. ภูผาทอง (26 มี.ค.)
  7. เพชรเหนือเพชร (9 เม.ย.)
  8. อินทรีแดง (16 เม.ย.)
  9. สองเกลอเจอทีเด็ด (16 ก.ค.)
  10. กองร้อยสอยรัก (17 ก.ย.)
  11. เหยื่ออารมณ์ (15 ต.ค.)
  12. ทองเถื่อน (26 พ.ย.)
  13. เหยื่อตัณหา (ไม่ทราบวันฉาย)
  14. เกร็ดแก้ว (ไม่ทราบวันฉาย)
พ.ศ. 2538
  1. บุญชู 8 เพื่อเธอ (22 ก.ค.)
    ได้รับรางวัลพระสุรัสวดี ผู้แสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม
  2. ผีไม่มีหลุม (8 ก.ย.)
พ.ศ. 2551
  1. ปืนใหญ่จอมสลัด

ผลงานละคร

  • ไฟเสน่หา (ช่อง 3/2530) รับบท ชิดสมัย
  • ตะรุเตา (ช่อง 7/2531)
  • สายลับสองหน้า (ช่อง 7/2532)
  • ตะกายดาว (ช่อง9/2533)
  • ทูตมรณะ (ช่อง 7/2533)
  • รอยทางแห่งความฝัน (ช่อง 9/2535)
  • ศพ 5 ปี (ช่อง 3/2536)
  • ครูซ่อนกลิ่น (ช่อง 7/2537) (ละครสั้นปากกาทอง)
  • หัวใจลายคราม (ช่อง 5/2537)
  • คือหัตถาครองพิภพ (ช่อง 7/2538) รับบท คุณหญิงศรี
  • เมื่อหมอกสลาย (ช่อง 7/2538) รับบท พวงเพชร
  • ผ้าไหมผืนใหม่ (ช่อง 7/2538) (ละครสั้นปากกาทอง)
  • เตียงวิวาห์ (ช่อง 7/2538) (ละครสั้นปากกาทอง)
  • บุพเพสันนิวาส (ช่อง 7/2538) (ละครสั้นปากกาทอง)
  • ดั่งดวงหฤทัย (ช่อง 7/2539) รับบท พระราชเทวี (แคว้นพันธุรัฐ)
  • แผ่นดินของเรา (ช่อง 5/2539) รับบท สายสวรรค์
  • เข็มซ่อนปลาย (ช่อง 3/2539) รับบท เรไร
  • ขบวนการเก็บหมอก (ช่อง 3/2539)
  • รักต้องลุ้น (ช่อง 3/2540)
  • บ้านบุษบาบัณ (ช่อง 7/2540) รับบท บุษราคัม
  • ตะวันยอแสง (ช่อง 3/2540) รับบท สาย
  • เขมรินทร์ อินทิรา (ช่อง 5/2540)
  • สลักจิต (ช่อง 3/2540) รับบท เพียงเพ็ญ (นางร้าย)
  • หวานใจ (ช่อง 3/2540)
  • หวานใจ (ช่อง 3/2540)
  • บุญชูผู้น่ารัก (ช่อง 5/2541)
  • ตามรอยรัก (ช่อง 7/2542)
  • รังหนาว (ช่อง 3/2542) รับบท ฟาร่าห์ คู่กับ ยุรนันท์ ภมรมนตรี
  • ยอดยาหยี (ช่อง 3/2542) รับบท ทักษิณา คู่กับ สันติสุข พรหมศิริ
  • ละครเทิดพระเกียรติชุดใต้แสงตะวัน ตอน ดวงประทีป (ช่อง 7/2542) คู่กับ ทูน หิรัญทรัพย์
  • ร้ายเดียงสา (ช่อง 7/2543) รับบท สายสุดา (นางร้าย)
  • น้ำผึ้งขม (ช่อง 3/2543) รับบท โรส คู่กับ ยุรนันท์ ภมรมนตรี
  • กำแพงรัก (ช่อง 3/2543) รับบท เรียมใจ คู่กับ ทูน หิรัญทรัพย์
  • ปลาร้าทรงเครื่อง (ช่อง 3/2543)
  • เส้นสายลายรัก (ช่อง 3/2544)
  • ขมิ้นกับปูน (ช่อง 3/2544) รับบท ปริก
  • เลือดหงส์ (ช่อง 5/2544) รับบท สร้อย
  • ทายาทอสูร (ช่อง 7/2544) รับบท สุดาดวง คู่กับ สันติสุข พรหมศิริ
  • ใครกำหนด (ช่อง 7/2545) รับบท สมพิศ บทมาลย์บำเรอ (คุณเธอ)
  • มนต์รักแม่น้ำมูล (ช่อง 5/2545)
  • ใยเสน่หา (รับเชิญ) (ช่อง 3/2546) รับบท เปรมา (คุณหน่อย)
  • กาเหว่าที่บางเพลง (ช่อง 3/2546) รับบท ยุพา คู่กับ เกรียงไกร อุณหะนันทน์
  • เจ้านายวัยกระเตาะ (ช่อง 3/2546) รับบท รตี เพชรรุ่งเรือง คู่กับ ทูน หิรัญทรัพย์
  • คู่กรรม (ช่อง 3/2547) รับบท อร
  • คู่กรรม 2 (รับเชิญ) (ช่อง 3/2547) รับบท อร
  • เสน่ห์จันทร์ (ช่อง 5/2547) รับบท สาย
  • แฝดพี่ฝาดน้อง (ช่อง 3/2547) รับบท คุณหญิงปราศรัย คู่กับ ทูน หิรัญทรัพย์
  • ไฟในวายุ (ช่อง 7/2547) รับบท ธรา (นางร้าย)
  • แก้วลืมคอน (ช่อง 5/2548) รับบท น้อย คู่กับ เกรียงไกร อุณหะนันทน์
  • เพื่อนรัก (ช่อง 3/2548)
  • กุหลาบสีดำ (ช่อง 3/2548) รับบท ปัทมา
  • รักหลอก ๆ อย่าบอกใคร (ช่อง 5/2548) รับบท แม่ของธนัญญา คู่กับ สีหนุ่ม เชิญยิ้ม
  • รักหลอก ๆ อย่าบอกใคร (ช่อง 5/2548) รับบท แม่ของธนัญญา คู่กับ สีหนุ่ม เชิญยิ้ม
  • ขิงก็รา ข่าก็แรง (ช่อง 7/2549) รับบท รุ่งทิพย์
  • ฟ้ามีตะวัน หัวใจฉันมีเธอ (ช่อง 7/2550) รับบท เนตรเสลา คู่กับ สวิช เพชรวิเศษศิริ
  • กรุงเทพฯ ราตรี (ช่อง 3/2550) รับบท ผกา คู่กับ ฉัตรชัย เปล่งพานิช
  • นิมิตมาร (ช่อง 3/2551) รับบท นทีทอง ชัยวรรธนา คู่กับ ฐากูร การทิพย์
  • หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น (ช่อง 3/2552) รับบท ไขแสง
  • สายสืบดิลิเวอรี่ (ช่อง 3/2552) รับบท โรส
  • มาลัยสามชาย (ช่อง 5/2553) รับบท คุณป้าจรวย
  • เจ้าสาวริมทาง (ช่อง 7/2553) รับบท พักตร์พิไล
  • ดอกโศก (ช่อง 5/2555) รับบท มิสซิสเบนส์
  • แม่ยายคงกระพัน (ช่อง 3/2555) รับบท อุ่นเรือน คู่กับ จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
  • แผนร้ายพ่ายรัก (ช่อง 3 / 2556) รับบท แสงสุดา คู่กับ สันติสุข พรหมศิริ
  • ปีกมาร (ช่อง 5 / 2556) รับบท สลัก
  • อนิลทิตา (ช่อง 5 / 2557) รับบท แม่เฒ่านายิกี
  • ฝันเฟื่อง (ช่องวัน / 2557) รับบท คุณหญิงหิรัญญิการ์
  • เล่ห์รตี (ช่องวัน / 2558) รับบท คุณหญิงมาริสา สุทธกานต์
  • ครอบครัวตึ๋งหนืดตืดขั้นเทพ (ช่อง7 / 2558) รับบท แช่อิ่ม
  • บัลลังก์เมฆ (ช่องวัน / 2558) รับบท ร้อยกรอง ดิเรกวิทยา
  • รักเร่ (ช่อง 7 / 2558) รับบท นิตยา
  • เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ (ช่องวัน / 2559) รับบท สาคร
  • แต่ปางก่อน (ช่องวัน / 2560) รับบท หม่อมพเยีย
  • โซ่เสน่หา (ช่อง 7 / 2560) รับบท คุณนายลิ้นจี่
  • พ่อมดเจ้าเสน่ห์ (ช่อง 7 / 2561) รับบท คุณตลับ อัครเดโชชัย (ย่าตลับ)
  • พยัคฆ์ร้ายสายลับ (ช่องทรู / 2561) รับบท

มิวสิควีดีโอ

  • แสดงมิวสิควีดีโอเพลง "นานแล้ว" ของ มิ้น สวรรยา แก้วมีชัย

รางวัลจากการแสดง

สาขานำหญิง
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ปี 2523 จากภาพยนตร์เรื่อง "ช่างเขาเถอะ"
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ปี 2525 จากภาพยนตร์เรื่อง "สวัสดีไม้เรียว"
  • รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2525 จากภาพยนตร์เรื่อง "ปริศนา"
  • รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2526 จากภาพยนตร์เรื่อง "มายาพิศวาส"
  • รางวัลเมขลา ปี 2531 จากละครโทรทัศน์เรื่อง "ตะรุเตา"
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปี 2538 จากละครโทรทัศน์เรื่อง "คือหัตถาครองพิภพ"
สาขาสมทบหญิง
  • รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2538 ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง "บุญชู 8 เพื่อเธอ"
  • คมชัดลึกอวอร์ด ปี 2550 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครโทรทัศน์เรื่อง "กรุงเทพฯราตรี"
  • ดาราภาพยนตร์อวอร์ด 2007 ปี 2550 นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครโทรทัศน์เรื่อง "ฟ้ามีตะวัน หัวใจฉันมีเธอ"
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปี 2551 ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น จากละครโทรทัศน์เรื่อง "นิมิตมาร"

รางวัลอื่น ๆ

  • รางวัลทีวีตุ๊กตาทองมหาชน 2524 (หนังสือพิมพ์ บ้านเมือง)
  • ดาราทอง ปี 2523-2525
  • โล่ห์เกียรติยศ "โลกดารา" จาก แก้วตาพี่ ลูกสาวกำนัน
  • วิก 07 ทองคำ (Popular Vote)
  • ดาราหญิงที่ประทับใจ (Popular Vote) จากบันทึกรักหน้าเหลือง 2539
  • รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี ด้านส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประจำปี 2550
  • รางวัลเทพทอง ปี 2550
  • รางวัล ตำแหน่ง Most of Actress ปี 2554 เนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปี นิตยสารเปรียว
  • รางวัลเกียรติยศนักแสดงภาพยนตร์สาขาแอ็คชั่น ปี 2554
  • รางวัลโลตัสอวอร์ด (Lotus Award for Life Time Achievement 2013) เทศกาลภาพยนตร์โลกแห่งกรุงเทพฯ ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2556
  • รางวัลเมขลา นางเอกราชินีภาพยนตร์ไทย ปี 2557